3/27/2552

ทฤษฎีสีและแชนแนล


เนื่องจากเอนทรี่ที่แล้วมีหลายๆคนที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแชนแนล
หลายๆคนก็เพิ่งจะรู้ว่ามันมีตัวตนอยู่ด้วย
บางคนเคยเห็นแต่ไม่เข้าใจ
วันนี้ก็เลยถือโอกาสมาไขข้อข้องใจกันซะเลยละกันนะ
ก่อนจะพูดถึงแชนแนลก็ต้องพูดถึงทฤษฎีสีก่อน
เพราะสองอย่างนี้มีความเกี่ยวพันกันสูงมากๆ
หลายๆคนคงพอจะรู้ว่าสีที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์นั้น
เราใช้รูปแบบสี RGBส่วนงานสิ่งพิมพ์นั้นเราใช้ CMYK
ทำไมไม่ใช้อันเดียวกันล่ะ?
คำตอบก็คือ
กระบวนการที่ทำให้เกิดภาพครับ
เพราะว่ากระบวนการสร้างภาพของแสงนั้น
เราใช้การเพิ่มค่าแสงค่าแสงมากสุดจะกลายเป็นสีขาว
แสงน้อยสุดจะกลายเป็นสีดำ(สีของหน้าจอ)
ส่วนกระบวนการสร้างภาพของสีนั้น
เกิดจากการทับซ้อนสี ค่าทับซ้อนสูงสุดเป็นสีดำ
น้อยสุดหรือไม่มีสีใดๆเลยจึงเป็นสีขาว(สีของกระดาษ)
ลองทำตัวอย่างให้ดูเพื่อความเข้าใจ
ผมสร้างวงกลม 3 วงโดยใช้สี Red, Green, Blue
โดยตั้งให้แต่ละเลเยอร์มี blending เป็น Lighten



ผลออกมาก็เป็นโลโก้ช่อง 7 สีอย่างที่เห็น
สังเกตว่าจุดที่ทั้งสามสีมารวมกันก็จะเป็นสีขาวซึ่งเป็นค่าแสงสูงสุด
คราวนี้มาลองกับ CMYK กันดูมั่ง
สร้างวงกลม 3 วงเข่นกันไม่ใช่ 4 นะครับ
เพราะในการพิมพ์นั้นเพื่อการประหยัด
จึงเพิ่มสีดำ (K) เข้ามาแทนที่การใช้ 3 สีผสมเป็นสีดำ
ดังนั้นสีที่ใช้ในวงกลมทั้ง 3 ก็จะเป็น Cyan, Magenta, Yellow
ซึ่งทั้ง 3 สีนี้เป็นสีที่เกิดจากการผสมของ RGB นั่นเองแหละ
โดยตั้งให้แต่ละเลเยอร์มี blending เป็น Multiply



ผลที่ออกมาก็อย่างที่เห็นครับว่าสีทั้ง 3 เมื่อรวมกัน
จะกลายเป็นสีดำซึ่งเป็นค่าทึบสุดของสี
และสีที่เกิดขึ้นจากการรวมสีในวงจรนี้ก็จะเป็นสี RGB นั่นเอง
แล้วแชนแนล (Channel) ล่ะ?
แชนแนลก็คือช่องทางของสีที่จะนำมาผสมกันนั่นเอง
จากทฤษฎีข้างบนทำให้เรารู้ว่าการจะเกิดภาพใดๆขึ้นบนหน้าจอนั้น
จะประกอบไปด้ว Channel แสงทั้ง 3 สี
โดยแต่ละ Channel สีนั้นจะมีการ Mask หรือการบัง
แล้วนำภาพที่ผ่านการ Mask ของทั้ง 3 Channel มารวมกันจึงเกิดภาพที่สมบูรณ์ขึ้น
ตัวอย่างการทำงานของ Channel



หวังว่าคงจะดูกันเข้าใจนะครับ
ดังนั้น Channel เองจึงมีคุณสมบัติเป็น Masking
ที่คอยกรองให้สีไหนออกมาเท่าไหร่โดยใช้ Layer ขาวดำบัง
ในกรณีของ CMYK ก็ไม่ต่างกันแต่เปลี่ยนแค่วิธีการ Blending ในการรวมภาพเท่านั้น
ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ Chanel ในการกรองพื้นที่ๆเราเลือกไว้
โดยการสร้าง Channel Alpha เพื่อบันทึกการ Select พื้นที่นั้นๆไว้ใช้ในครั้งต่อไป


Thanks : คุณแกะ (sheep.exteen.com/20060529/entry)

นานาสาระ